สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 มกราคม-5 กุมภาพันธ์ 2566

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,379 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,329 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,655 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,711 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,410 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,370 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 888 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,926 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 511 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,645 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,743 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5739 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
ครม.ขยายระยะเวลาโครงการหนุนปลูกข้าวอินทรีย์ สูงสุดไร่ละ 4,000 บาท ถึงกันยายนนี้
คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ถึงเดือนกันยายน 2566 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว 94,888 คน พื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ 847,373.7 ไร่
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าที่ประชุม ครม. เห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ถึงสิ้นสุดปีงบประมาณ 2566 จากเดิมสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
โดยโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้
คุณสมบัติเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีสมาชิก 5 คนขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ โดยต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร พื้นที่มีเอกสารสิทธิ์
สำหรับรูปแบบการส่งเสริม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนเงินอุดหนุนแก่เกษตรกรที่ผ่านการประเมินตามที่กำหนด ไม่เกินรายละ 15 ไร่ แบ่งการจ่ายเงิน 3 ระยะ ต่อเนื่อง 3 ปี ดังนี้
ระยะเตรียมความพร้อม (T1) สนับสนุนเงินอุดหนุน ไร่ละ 2,000 บาท ระยะปรับเปลี่ยน (T2) สนับสนุนเงินอุดหนุน ไร่ละ 3,000 บาท และระยะการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ (Organic Thailand) (T3) สนับสนุนเงินอุดหนุน ไร่ละ 4,000 บาท (เกษตรกรจะร่วมโครงการฯ ที่ระยะ T1 และเมื่อผ่านการประเมินจะเลื่อนเป็นระยะ T2 และ T3 ในปีถัดไป ตามลำดับ)
นายอนุชากล่าวว่า ระยะเวลาโครงการฯ 5 ปี (ปี 2560-2564) จะรับสมัครเกษตรกรเฉพาะปี 2560-2562 เพื่อให้สอดคล้องกับการประเมิน 3 ระยะ (T1, T2 และ T3) ที่ต่อเนื่อง 3 ปี วงเงินงบฯ 9,696.52 ล้านบาท (ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560) ประโยชน์ที่คาดจะได้รับ สามารถผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์ได้ประมาณ 400,000 ตัน
สร้างกลุ่มชาวนาที่มีความเข้มแข็ง รักษาระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมให้มีความสมดุล
สำหรับปี 2564 นั้น กรมการข้าวยังไม่สามารถจ่ายเงินอุดหนุนได้ เนื่องจากผลผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่
จะเก็บเกี่ยวในช่วง พ.ย.-ธ.ค. ของทุกปี ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูเก็บเกี่ยวข้าวอินทรีย์ รวมทั้งเพื่อให้กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีระยะเวลาเพียงพอในการตรวจสอบสิทธิของเกษตรกร เพื่อจ่ายเงินอุดหนุนแก่เกษตรกรที่เหลือ โดยให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ 2566
โดยโครงการฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2560/61
มีกรอบวงเงิน 9,696.52 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ให้ได้พื้นที่ 1 ล้านไร่ และให้เกษตรกรได้รับการรับรองการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ (Organic Thailand) จำนวน 66,700 คน ภายในปี 2564
ซึ่งผลการดำเนินการระหว่างปี 2560-2564 มีกลุ่มเกษตรกรกลุ่ม T1, T2 และ T3 เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 94,888 คน (จำนวน 4,636 กลุ่ม) และมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ที่ร่วมโครงการฯ
ทั้งนี้ นายอนุชากล่าวเพิ่มเติมว่า “นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุม ครม.ว่า โครงการฯ สอดคล้องกับโครงการข้าวรักษ์โลก และแนวทาง BCG ของรัฐบาล จึงเห็นสมควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าไทย พัฒนาช่องทางการขายข้าวอินทรีย์ เช่น การค้าออนไลน์ เพื่อให้สินค้าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง ตลอดจนพัฒนาการตลาดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทุกช่วงวัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ข้าวอินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดภายในประเทศและระหว่างประเทศ”
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 
“พาณิชย์” กำหนดเป้าหมายปี 2566 ส่งออกข้าวปริมาณ 7.5 ล้านตัน มันสำปะหลังปริมาณ 9 ล้านตัน
กรมการค้าต่างประเทศถกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ 4 สมาคมมันสำปะหลัง ตั้งเป้าส่งออกข้าวปี 2566 ปริมาณ 7.5 ล้านตัน และมันสำปะหลัง 9 ล้านตัน โดยที่ผ่านมา ปี 2565 ส่งออกข้าวทะลุเป้า 7.69 ล้านตัน กลับขึ้นเป็นเบอร์ 2 โลก และมันสำปะหลัง 11.18 ล้านตัน ยังครองแชมป์ แต่มูลค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 15 ปี เผยมีแผน
ลุยขยายตลาดข้าวและมันสำปะหลังต่อเนื่อง รวมถึงจัดงานข้าวและมันสำปะหลังระดับนานาชาติ

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้หารือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวไทยในปี 2566 ไว้ที่ 7.5 ล้านตัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการซื้อจากต่างประเทศที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีแผนผลักดันการส่งออกข้าวของกระทรวงพาณิชย์ เช่น การจัดประชุม Thailand Rice Convention ของผู้คนในวงการค้าข้าว การจัดคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเยือนประเทศคู่ค้าสำคัญ และการจัดประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม เยอรมนี จีน ออสเตรเลีย เป็นต้น และยังคงเดินหน้ารักษาตลาดเดิม และหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้การส่งออกข้าวไทยยังเติบโตได้ดี แต่ต้องระวังค่าเงินบาทที่ยังผันผวน และมีแนวโมแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง
ส่วนปี 2565 ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 7.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.06 สูงเกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,971 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.67 หรือ 138,451 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.13 โดยไทยเป็นอันดับ 2 ประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก รองจากอินเดีย ที่ส่งออกได้ 21.93 ล้านตัน ส่วนเวียดนาม อันดับ 3 ที่ 6.31 ล้านตัน ส่วนประเทศที่ไทยส่งออกมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่ อิรัก ที่ 1.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 458 หลังจากที่อิรักกลับมานำเข้าข้าวจากไทยอีกครั้งจากที่ไม่ได้นำเข้าปริมาณมากมาหลายปี รองลงมา คือ แอฟริกาใต้ 775,000 ตัน ลดลงร้อยละ 2.26 จีน 750,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 สหรัฐฯ 650,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.21 และเบนิน 321,000 ตัน ลดลงร้อยละ 15.38 
นายรณรงค์กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในปี 2566 กรมฯ ได้หารือร่วมกับ 4 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง ได้แก่ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย และสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งเป้าส่งออกไว้ที่ 9 ล้านตัน ลดลงจากปี 2565 ที่ส่งออกได้ 11.18 ล้านตัน ไทยยังคงเป็นแชมป์ส่งออก โดยมีมูลค่า 4,408 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 15 ปี
ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะลดลงเหลือ 31.7 ล้านตัน จากคาดการณ์เดิม 34.98 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตเสียหายจากน้ำท่วม โรคใบด่าง และภัยแล้ง แต่เชื่อว่าราคาจะยังคงดีขึ้น เพราะผู้ซื้อยังแย่งกันซื้อ เช่น ตุรกี ฟิลิปปินส์ ที่ขอซื้อเข้ามาต่อเนื่อง และยังมีแผนเจาะตลาดเป้าหมาย ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป (อียู) ตุรกี นิวซีแลนด์ อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดิอาระเบีย รวมทั้งจัดงานมันสำปะหลังโลก (World Tapioca Conference 2023) ต้นเดือนมีนาคม 2566 เพื่อโปรโมตมันสำปะหลังไทย และเป็นเวทีพบปะคนในวงการมันสำปะหลังจากทั่วโลก
นายรณรงค์กล่าว “ปัจจุบันราคาหัวมันสดอยู่ที่ 3.25 บาทต่อกิโลกรัม สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่ราคากิโลกรัมละ 2.70 บาท และคาดว่าราคาจะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เพราะความต้องการซื้อยังเข้ามาต่อเนื่อง แต่ไม่มีของจะขาย จึงอยากให้เกษตรกรไม่เร่งขุดหัวมันที่ไม่ได้คุณภาพออกขาย เพราะอาจถูกกดราคารับซื้อ และไม่ควรเร่งตัดมันท่อนอ่อน
เพื่อนำไปทำพันธุ์เพาะปลูก เพราะจะทำให้หัวมันไม่มีคุณภาพ และในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศ จะเดินหน้าควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังต่อไป ทั้งการส่งออกและนำเข้า”
ที่มา CNA Online
 
บังคลาเทศ
สํานักข่าว The Financial Express รายงานว่า บังคลาเทศจะแก้ไขโควตานําเข้าข้าวประจำปีจากอินเดีย
โดยบังคลาเทศจะเสนอโควตานําเข้าข้าวจากอินเดียในปี 2566 จำนวน 2 ล้านตัน ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้มีการหารือ
ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีพาณิชย์ระหว่างบังคลาเทศและอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นที่อินเดียระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2565
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า อินเดียได้ขอให้บังคลาเทศทบทวนโควตาที่เสนอมา เนื่องจากมองว่าเป็นจำนวนที่สูงเกินไป
ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า มีแนวโน้มที่บังคลาเทศจะยื่นข้อเสนอฉบับแก้ไขหลังการประชุมในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ยังมีการเสนอโควตานําเข้าประจําปี 2566 สําหรับสินค้าสําคัญอื่นๆ เช่น ข้าวสาลี น้ำตาล ถั่วพัลส์ หัวหอม กระเทียม และขิงจากอินเดียด้วย โดยที่ผ่านมา บังคลาเทศเสนอโควตาสําหรับข้าวสาลี จํานวน 4.5 ล้านตัน น้ำตาล 1.5 ล้านตัน หัวหอมใหญ่ 700,000 ตัน ขิง 125,000 ตัน ถั่วเลนทิล 30,000 ตัน และกระเทียม 10,000 ตัน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.14 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.06
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 416.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,564.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 415.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,546.00 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 18.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 679.00 เซนต์ (8,826.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 680.00 เซนต์ (8,848.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 22.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 33.358 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.90 ร้อยละ 2.08 และร้อยละ 0.20 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต
ออกสู่ตลาด 6.15 ล้านตัน (ร้อยละ 18.43 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.86 ล้านตัน (รอยละ 59.54 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.72 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.10
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.39 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.54
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.32 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.50 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,020 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 273 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,930 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 0.73
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,570 บาทต่อตัน)  ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 496 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,130 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.81


 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.854 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.154 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.441 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.259 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2565 คิดเป็นร้อยละ 40.74 และร้อยละ 40.54 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.52 บาท ลดลงจาก กก.ละ 4.74 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.64  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 28.80 บาท ลดลงจาก กก.ละ 30.15 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.48
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ในเดือนมกราคม อินเดียมีการนำเข้า 770,000 ตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 31 เนื่องจากส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นเริ่มลดลง และโรงกลั่นมีการนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันทานตะวันมากขึ้น 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,759.87 ริงกิตมาเลเซีย (29.33 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 3,803.48 ริงกิตมาเลเซีย (29.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.15  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31.81 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 997.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.31  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - Green Pool คาดการณ์ว่าน้ำตาลทั่วโลกจะขาดดุล 1.01 ล้านตันในปี 2566/2567 ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกหลังจากเกินดุลมาตลอดสามปี เนื่องจากการผลิตน้ำตาลที่สูงขึ้นในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลนั้นไม่เพียงพอที่จะชดเชยผลผลิตที่ลดลงในสหภาพยุโรป อินเดีย และปากีสถาน
           - กระทรวงการคลังของประเทศบราซิล กล่าวว่า นโยบายของรัฐจะยังนำนโยบายภาษีน้ำมันกลับมาใช้ในเดือนมีนาคม โดยทาง StoneX คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้โรงงานน้ำตาลผลิตเอทานอลมากขึ้นเนื่องจากอุปสงค์ที่น่าจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทางด้านผู้สังเกตการณ์ตลาดเสริมว่าโอกาสการกลับมาบังคับใช้ภาษีน้ำมันนั้นมีแรงกระตุ้นมาจากราคาน้ำตาลในตลาดซื้อขายล่วงหน้า





 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 25.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,531.92 เซนต์ (18.57 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,502.76 เซนต์ (18.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.94
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 489.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.14 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 467.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.62
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.89 เซนต์ (44.29 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 60.99 เซนต์ (44.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.45 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.42 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.29
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,075.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,077.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 859.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 860.75 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,366.60 ดอลลาร์สหรัฐ (44.51 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,387.50 ดอลลาร์สหรัฐ (45.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.58 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.79 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 891.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.32 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.19 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,224.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,226.50 ดอลลาร์สหรัฐ (39.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.53 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,832 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,979 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,359 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,497 บาทคิดเป็นร้อยละ 9.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 992 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  98.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.79 คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.29 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.45 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 100.75 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 92.46 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,300 บาท ลดลงจากตัวละ 3,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.15 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.65 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ลดลงจากตัวละ 19.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
 
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 348 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 330 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 395 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 396 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 418 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 371 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 429 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.76 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.14 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.91 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.37 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.53 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 83.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 168.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.27 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
169.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 163.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.42 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.52 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.07 บาท
ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.20 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา